background
EXAMPLE >> ตัวอย่างชุดข้อมูล Oishi Restaurant
background
กลยุทธ์ระดับองค์กร
  • ปี 2551เครือโออิชิตั้งเป้ารุกธุรกิจอาหารมากขึ้น และเพิ่มสัดส่วนรายได้จากธุรกิจดังกล่าวเป็น 40% จากเดิม 30% ซึ่งมีแผนเจรจาซื้อแฟรนไชส์ร้านอาหารแบรนด์ดังติด TOP5 ในญี่ปุ่นเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย เพื่อรองรับการแข่งขันจากคู่แข่งใหม่ โดยได้ตรียมงบประมาณไว้กว่า 200 ล้านบาท เพื่อรองรับสถานการณ์ด้านการแข่งขันที่จะทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยมีผู้ประกอบการร้านอาหาร ญี่ปุ่นที่เป็นคู่แข่งหลักๆ คือ Fuji และ Zen อีกทั้งยังมีผู้ประกอบการใหม่ๆเกิดขึ้นอีกหลายแบรนด์ในตลาด มีทั้งที่ลงทุนทำเอง และเซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนกัน เช่น ร้าน MK สุกี้ กับร้านอาหารญี่ปุ่น “Yayoi”
  • สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2551 ของร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิจะอยู่ภายใต้งบประมาณกว่า 300 ล้านบาท โดย 200 ล้านบาท จะใช้สำหรับขยายสาขา 20 สาขา และมีแผนที่จะซื้อแบรนด์ร้านอาหารในญี่ปุ่นอีก 2 แบรนด์ เข้ามาเปิดให้บริหารในไทย
  • ส่วนงบประมาณทางการตลาดจะดำเนินการภายใต้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาทโดยจะใช้สำหรับการจัดกิจกรรมทางการตลาดและส่งเสริมการขายแบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิด้วยการเพิ่มความถี่ในการออกสินค้า เมนูใหม่ และการจัดแคมเปญอาหารตามเทศกาลต่างๆที่ลิงก์กับความเป็นญี่ปุ่น
  • อย่างไรก็ตามจะไม่เน้นทำโปรโมชั่นลดราคาสินค้า เนื่องจากไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะดึงลูกค้าเข้ามา ในร้านได้ ตรงกันข้ามสิ่งที่ลูกค้าต้องการคือความแปลกใหม่และสินค้าที่หลากหลาย นอกจากนี้ ในภาวะที่ต้นทุนต่างๆ ทั้งวัตถุดิบ ราคาน้ำมันสูงขึ้น การทำโปรโมชั่นก็จะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย ให้มากขึ้นไปด้วย ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้ธุรกิจอาหารเป็นตัวสร้างรายได้หลักให้กับโออิชิกรุ๊ปฯ
Brand Analysis
 จุดเด่น    1.มีการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดต่อเนื่องผู้บริโภคจึงรับรู้ในตราสินค้าอย่างกว้างขวาง
 2.มีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่ขายทั่วกรุงเทพฯและปริณฑล
 ฯลฯ
 จุดด้อย   1.กลุ่มลูกค้าเป้าหมายค่อนข้างจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ชอบรับประทาน อาหารญี่ปุ่นเท่านั้น
 ฯลฯ
 โอกาส   1.อาหารญี่ปุ่น มีลักษณะสอดคล้องกับกระแสการห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภคยุคใหม่
 ฯลฯ
 อุปสรรค   1.ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ยังไม่มีเสถียรภาพมากนัก มีผลต่อกำลังซื้อ
 ฯลฯ
สถานการณ์การแข่งขัน (Market Analysis)
  • ปี 2550 การขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นอยู่ในปี 2550 เข้าสู่ช่วงชะลอตัว เนื่องจากปัจจัยของเศรษฐกิจซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค อย่างไรก็ตามมีร้านอาหารญี่ปุ่นเปิดให้บริการในประเทศไทยกว่า 660 แห่ง โดยส่วนใหญ่ร้านอาหารญี่ปุ่นจะกระจายอยู่ในเขตกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และชลบุรี สำหรับขณะนี้ร้านอาหารญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นร้านที่อยู่ในพื้นที่ในห้างสรรพสินค้า 50% ร้านเดี่ยวหรือสแตนด์อโลน 40% และร้านในโรงแรม 10% โดยเป็นธุรกิจที่บริหารจัดการโดยคนไทย
  • สำหรับปัจจัยหลักของการขยายตัวธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นมาจากกระแสนิยมในวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศไทยตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผลต่อการบริโภคนิยมในสินค้าแฟชั่นและการกินอาหารญี่ปุ่นของกลุ่มวัยรุ่น ขณะเดียวกันก็พบว่าจำนวนคนญี่ปุ่นในประเทศก็มีจำนวนมากพอต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น
  • นอกจากนี้ร้านอาหารญี่ปุ่นยังได้รับปัจจัยสนัยสนุนจากการที่การส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น  (JTEPA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนโดยการตกลงระหว่างภาครัฐครั้งนี้เป็นปัจจัยเร่งทำให้อาหารญี่ปุ่นในประเทศไทยเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้าที่ลดลง เช่น แอปเปิล สาลี่ ลูกพลับ ภาษีลดเหลือ 0% ทันทีจาก 30-40% กุ้งสดแช่แข็ง แช่เย็น ลดเป็น 0% อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป เช่นปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง ยกเว้นปลาทูน่า ลดภาษีลงเป็น 2.9-4.9% เป็น 0% ในปีที่ 8 หรือปลาหมึกสดแช่เย็นแช่แข็ง ทยอยลดจาก 2.9% ในปีที่ 1 และลดเหลือ 0% ในปีที่ 6 เป็นต้น
  • อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการตั้งข้อสังเกตว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์เฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยมหรือร้านอาหารญี่ปุ่นในโรงแรมเท่านั้น เนื่องจากกลุ่มผู้ประกอบการระดับกลางและเล็กนั้นส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบกว่า 90% ซื้อจากซัพพลายเออร์ในประเทศ
  • ส่วนการขยายตัวของธรุกิจร้านอาหารญี่ปุ่นระดับพรีเมี่ยม มาจากการขยายตัวของศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเอื้อต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ทว่าร้านอาหารญี่ปุ่นที่มีอัตราการเติบโตสูงคือ ร้านอาหารญี่ปุ่นทั่วๆไป (Mass market) ที่ราคาไม่สูงมากนัก เน้นการตอบสนองกลุ่มลูกค้าเป้าหมายระดับบีและซี ซึ่งร้านอาหารญี่ปุ่นกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ผลักดันการเติบโตของมูลค่าตลาดร้านอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย แม้จะมีอยู่ในตลาดเพียง 3 รายเท่านั้น คือ ฟูจิ เซน และโออิชิ ซึ่งเป็นแบรนด์เดียวที่ให้บริการในลักษณะภัตตาคารบุฟเฟ่ต์ญี่ปุ่น
  • ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กเลือกที่จะสร้างความแตกต่าง ด้วยการชูจุดขายเฉพาะ (Specialize) เมนูใดเมนูหนึ่งซึ่งกำลังเป็นเป็นกระแสนิยมในญี่ปุ่น อาทิกรณีของร้านชิบูย่าที่เน้นการปรุงราเมนด้วยการใช้เส้นสด แล้วนำมาทำเป็นเมนูต่างๆ อย่างไรก็ดีการเน้นจุดขายเฉพาะดังกล่าวค่อนข้างจะเป็นเรื่องยากเนื่องจากพฤติกรรมคนไทยส่วนมากนิยมความหลากหลายของอาหาร
OUR CLIENTS
background
  • บริษัท มาร์เก็ตอินโฟ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
  • 4637 เจริญราษฎร์ บางโคล่ บางคอแหลม กรุงเทพฯ10120
  • Marketing Information Service